PE2020
Training on Application of Participatory Epidemiology to Identify Possible Solution for the Surveillance and Prevention Measure: COVID-19 as a case study
24-27 November 2020

Nowadays, the situation of the contagious disease outbreaks are more severe and more likely. Those including new and emerging infectious diseases, in particular, the coronavirus disease 2019 (COVID-19) occurred in Thailand and abroad. It still tends to escalate and spread tto many areas around the world which affects public health, including the impacts on society and economy. This problem needs to be solved under support and cooperation from all sectors such as governments, multilateral organizations NGOs and local communities.

Veterinary Public Health and Food Safety Centre for Asia Pacific (VPHCAP) has organized the training workshop on "Application of Participatory Epidemiology to Identify Possible Solution for the Surveillance and Prevention Measure: COVID-19 as a case study" with aims to introduce the participatory tools to the participants to use in their area of professions in order to gather crucial information from the community and find feasible solutions during and after the outbreak of COVID-19.

Objectives of the training

  1. To build participatory epidemiology knowledge to practitioners who work in public health and animal health areas
  2. To exchange knowledge and experience in the development of surveillance and prevention systems for emerging diseases such as Coronavirus disease 2019 (COVID-19)
  3. To create a network of participatory epidemiology practitioners

In summary: The workshop is supported by USAID. There are 50 participants who from public health and veterinary public health sectors in Thailand.


PE2020
โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การประยุกต์ใช้ระบาดวิทยาแบบมีส่วนร่วมเพื่อหาแนวทางการเฝ้าระวังและการป้องกันโรค: กรณีศึกษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
24-27 พฤศจิกายน 2563

ปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่อมีความรุนแรงและมีแนวโน้มของการระบาดมากขึ้น ทั้งโรคติดต่ออุบัติใหม่และโรคติดต่ออุบัติซ้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและต่างประเทศ ที่ยังคงมีแนวโน้มทวีความรุนแรงและมีการแพร่กระจายของโรคไปยังหลายพื้นที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน รวมถึงผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจ ปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข โดยได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน อาทิเช่น รัฐบาล องค์กรพหุภาคี องค์กรภาคเอกชนและชุมชนท้องถิ่น

ศูนย์สัตวแพทย์สาธารณสุขและอาหารปลอดภัย คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การประยุกต์ใช้ระบาดวิทยาแบบมีส่วนร่วมเพื่อหาแนวทางการเฝ้าระวังและการป้องกันโรค :กรณีศึกษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีเครื่องมือที่ใช้ในการรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยการประยุกต์ใช้ระบาดวิทยาแบบมีส่วนร่วม รวมไปถึงการฟื้นฟูหลังการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สิ้นสุดลง

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. เพื่อสร้างความรู้และทักษะด้านระบาดวิทยาแบบมีส่วนร่วมแก่บุคลากรสาธารณสุขและปศุสัตว์
  2. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังและป้องกันโรคอุบัติใหม่ เช่น โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  3. เพื่อสร้างเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานด้านระบาดวิทยาแบบมีส่วนร่วม

ภาพรวมของโครงการ: โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก USAID โดยมีผู้เข้าร่วมการอบรมทั้งหมด 50 คน จากหน่วยงานทางด้านสาธารณสุขและปศุสัตว์ในประเทศไทย

materialbutton